img
img

ประกันชีวิต

ประกันชีวิต หรือ กรมธรรม์ประกันชีวิต ในนัยของกฎหมาย จะหมายถึงสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้เอาประกัน" มีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "บริษัทประกันชีวิต" และเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต หรืออยู่ครบตามสัญญาของกรมธรรม์ ทางฝ่าย "บริษัทประกันชีวิต" ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายผลตอบแทน เรียกว่า "ทุนประกันชีวิต" ให้แก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์

ประกันชีวิตมีกี่แบบ ?

img

แบบตลอดชีพ

img

แบบสะสมทรัพย์

img

แบบชั่วระยะเวลา

img

แบบเงินได้ประจำ

สรุปข้อดีข้อเสียของประกันชีวิตแต่ละประเภท

ประเภทประกัน เบี้ยประกัน ข้อดี ข้อเสีย ความเหมาะสม
แบบสะสมทรัพย์ แพงที่สุด - จ่ายผลตอบแทนระยะยาว
- บังคับออมระยะยาว
- ผลตอบแทนต่ำ
- การคุ้มครองต่ำ
เพื่อสร้างวินัยการออมระยะยาว
แบบเงินได้ประจำ แพง - เป็นการสร้างเงินการันตียามเกษียณ
- ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีก 2 แสนบาท
- ผลตอบแทนต่ำ
- การคุ้มครองต่ำ
เพื่อเป็นเงินบำนาญการันตีหลังเกษียณ
แบบตลอดชีพ ปานกลาง - มีการคุ้มครองตลอดชีพ
- ต้นทุนค่าประกันคงที่
- ไม่มีผลตอบแทน
- ระยะเวลาคุ้มครองอาจนานกว่าจำเป็น
เพื่อสร้างความคุ้มครองระยะยาว
แบบชั่วระยะเวลา ถูก - สามารถเลือกระยะเวลาคุ้มครองตามเวลาที่เหมาะสม
- เบี้ยถูกที่สุด
- เป็นเบี้ยจ่ายทิ้งไม่มีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์เลย เพื่อสร้างความคุ้มครองระยะสั้นถึงกลาง

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต

1.ด้านการออม
ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้นจะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องมีหน้าที่ในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญา
2.ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของผู้เอาประกันภัย
การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ในกรณีการทำประกันคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้
3.ด้านการให้ความคุ้มครองและบรรเทาความเดือนร้อนให้กับผู้ที่อยู่ในอุปการะคุณ
การทำประกันชีวิตจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องการเงิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัว
4.ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
เนื่องจากรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้น ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตไปใช้เป็นค่า ลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับแบบทั่วไป และ 200,000 บาทสำหรับแบบบำนาญ
5.ด้านอื่นๆ
การทำประกันชีวิตเปรียบเสมือนการเตรียมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดระยะเวลาหนึ่ง ก็จะมีมูลค่าเงินสดหากผู้เอาประกันภัยมีความจำเป็นทางการเงินก็สามารถขอกู้เงินจำนวนหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ บริษัทกำหนดไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้